วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมตามรูปแบบสากล และตามรูปแบบสากล และตามรูปแบบอิเล็กทรอนิ

การเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม
การเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม
การอ้างอิงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ เพราะผู้ทำวิทยานิพนธ์
หรือผู้ทำการค้นคว้าอิสระ ต้องศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ เช่น รายงานการวิจัย ราย
งานการประชุม วารสาร สิทธิบัตร เอกสารสำคัญ เป็นต้น และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ทั้งที่เป็นสื่อ
สิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุและสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ การอ้างอิงในลักษณะนี้ ผู้อ้างอิงจะต้องมีจรรยา
บรรณและเคารพสิทธิของผู้เขียนดั้งเดิม โดยการอ้างอิงหรือระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้ ให้ถูกต้องตามระบบ
สากลนิยมและเป็นระบบเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมของผู้อ่านด้วย
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กำหนดให้ใช้การอ้างอิงให้สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียว
กันกับหลักการอ้างอิงในคู่มือการเขียนผลงานทางวิชาการของสำนักงานมาตรฐานการศึกษา สำนักงาน
สภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ 2544 โดยมีสาระในการอ้างอิงที่ควรรู้และทำความเข้าใจ
การอ้างอิงหรือการทำบรรณานุกรมช่วยให้ผู้อ่านสามารถติดตามเอกสารที่ได้อ้างอิงในผลงาน
ทางวิชาการนั้นๆ ดังนั้น ความถูกต้องแม่นยำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง รายการทุกรายการที่ปรากฏใน
การอ้างอิงจะต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อวารสาร ฉบับที่ ปีที่ เลขหน้า เป็นต้น
รายการเอกสารอ้างอิง คือ รายชื่อหนังสือหรือเอกสารที่นำมาอ้างอิงใน
การเขียนผลงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
บรรณานุกรม (Bibliography) คือ บัญชีรายชื่อหนังสือหรือเอกสารที่ใช้ประกอบการค้นคว้า
ดังนั้น ในการเขียนหนังสือ ถ้าผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านได้ทราบถึงรายชื่อของหนังสือหรือ
เอกสารเพื่อการศึกษาค้นคว้าต่อไปให้ใช้คำว่า .บรรณานุกรม. แต่ถ้าต้องการให้ผู้อ่าน
ทราบว่ามีเอกสารอะไรบ้างที่ผู้เขียนได้นำมาประกอบการเขียนและใช้อ้างอิงให้ใช้คำว่า.เอกสารอ้างอิง.การลงรายการ
1. การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (Internal or Parenthetical in . text Citation) เป็น
การอ้างอิงข้อมูลเมื่อผู้อ้างคัดลอก ถอดข้อความ หรือสรุปสาระสำคัญของผู้อื่นมาไว้ในรายงานของตน
ลักษณะของการลงรายการอ้างอิงแบบนี้เป็นการลงอย่างสั้น ๆ กะทัดรัด โดยมีเครื่องหมายวงเล็บเป็น
ส่วนหนึ่งของการอ้างอิงด้วย นอกเหนือจากรายการ ผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ซึ่งเป็นรายการหลัก
วัตถุประสงค์ของการลงรายการอ้างอิงลักษณะนี้ คือ ต้องการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้อ้างใช้ และ
โยงให้ผู้อ่านไปดูบรรณานุกรมท้ายเล่มของรายงานหรือเอกสารนั้น การลงรายการอ้างอิงลักษณะนี้เข้า
มาแทนที่การอ้างอิงแบบเดิม ซึ่งอยู่ตอนล่างของหน้ากระดาษที่เรียกว่าเชิงอรรถ (Footnotes)
การอ้างอิงเนื้อหา หมายถึง การกล่าวอ้างอิงถึงผลงานทางวิชาการของคนอื่นไว้ใน
ผลงานของตน จึงต้องให้เกียรติคนเขียน โดยเขียนชื่อ ปีพ.ศ. และจำนวนหน้าที่อ้างอิง ไว้ในวงเล็บ
ดังตัวอย่าง
(ประเวศ วะสี, 2539, หน้า 38)
(อภิชัย พันธเสน, 2544, หน้า 715 . 716) เป็นต้น
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (1)
โกวิทย์ กระจ่างธรรม (2543, หน้า 30) ได้เสนอความคิดเห็นว่าควรมีการศึกษาและ
วิเคราะห์สภาพชุมชนร่วมกับประชาชน และในส่วนของผู้นำ จะต้องมีการพัฒนา โดยการให้การศึกษา
และอบรม เพื่อให้มีความสามารถในการคิดเป็น และแก้ปัญหาเป็น
นอกจากนี้ พฤติกรรมของผู้นำ ยังถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารจัดการ
องค์กร จากการศึกษาของปรัชญา เวสารัชช์ (2528, หน้า 153 . 162) พบว่าผู้นำจะต้องมีความรับผิดชอบ
เข้าใจในระบบประชาธิปไตย ทำตัวให้ประชาชน เลื่อมใสยุติธรรม ทำตัวเป็นกลาง มีความซื่อสัตย์
สุจริต และมีความเสียสละ
จากเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า เป็นเทคนิคในการกระตุ้นให้ประชาชนทั่ว
ไปได้เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ได้กล่าวถึง กลุ่มประชาชนที่เจาะจงหรือกลุ่มที่ด้อยโอกาส แต่จากการศึกษา
ของอรพินท์ สพโชคชัย (2538, หน้า 12) ที่ได้ทำการศึกษา.......(ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ, 2543,หน้า 159)
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (2)
หลักการพึ่งตนเอง หรืออัตตาหิ อัตตโน นาโถ ในความหมายที่สูงสุดในพุทธธรรมก็
คือความสามารถในการพัฒนาด้วยตนเอง ด้วยการพิจารณาอย่างแยบคาย ( โยนิโสมนิสิการ ) เห็น
ความเป็นจริงของความไม่เที่ยงแท้แน่นอน (พระธรรมปิฏก, 2538, หน้า 680) แต่ในความหมายที่มัก
เข้าใจกันทั่วไปและเป็นประเด็นที่นำมาเป็นประเด็นที่จะนำมาพิจารณาในทางเศรษฐกิจก็คือ
ความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ทุกระดับ เพื่อความต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่นหรือหมู่คณะ (ประเวศ
วะสี, 2539, หน้า 38) ส่วนอีกความหมายหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องก็ คือ ความเพียรพยายามที่ต้องมี
การฝึกฝนตนเองให้ดี ซึ่งไม่มีบุคคลอื่นทำให้ได้ (พระธรรมปิฏก, 2538, หน้า 217)......(อภิชัย พันธ
เสน, 2544,หน้า 715)
2. บรรณานุกรมหรือการอ้างอิงท้ายเล่ม จะเป็นการลงรายการอ้างอิงอย่างสมบูรณ์ คือ
ผู้แต่ง ชื่องานหรือสิ่งพิมพ์ ข้อมูลทางด้านการพิมพ์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ต้องสอดคล้องกับข้อมูลที่อ้างอิง
แทรกไว้ในเนื้อหาด้วย
บรรณานุกรม เป็นการอ้างอิงเอกสารทั้งหมดที่ใช้ในการเขียนผลงานทางวิชาการ นำไป
เขียนรวมอีกครั้งท้ายเล่มเป็นบรรณานุกรม
สำหรับแนวทางการเขียนบรรณานุกรม จะมีแนวทางดังนี้
1) การเขียนบรรณานุกรมให้ขึ้นหน้าใหม่ คือ หน้าแรกโดยเริ่มเขียนคำว่า
บรรณานุกรม กลางหน้ากระดาษ ห่างขอบลงมา 2 นิ้ว
2) เขียนเรียงภาษาไทยก่อนภาษาต่างประเทศ
3) เรียงลำดับตัวอักษร ก-ฮ และ A-Z
4) เขียนติดขอบกระดาษซ้ายมือ เว้นห่างขอบกระดาษประมาณ 1 . นิ้ว โดยเริ่ม
เขียนแต่ละรายการโดยขึ้นบรรทัดใหม่ทุกครั้ง ถ้าบรรทัดเดียวไม่พอให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ ย่อหน้า
เข้าไป 7 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 8 ถ้าไม่จบบรรทัดต่อไปลงมาตามลำดับ พิมพ์ให้ตรงกับบรรทัดที่ 2
5) เว้นระยะการพิมพ์หลังเครื่องหมายวรรคตอนทุกตัว เว้น 1 ตัวอักษร
6) เครื่องหมายวรรคตอน หลังเครื่องหมายทุกชนิดเว้น 1 ตัวอักษร ( 1 ระยะ)
. period (มหัพภาค)
, comma (จุลภาค)
: colon (ทวิภาค หรือ มหัพภาคคู่)
; semi . colon (อัฒภาค)
7) หนังสือทั่วๆ ไป ข้อมูลที่จำเป็นต้องมีได้แก่ ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อ
หนังสือ. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
8) ถ้าไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ ภาษาไทยใช้ ม.ป.ท.
ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ ภาษาไทยใช้ ม.ป.ท.
ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ภาษาไทยใช้ ม.ป.ป.
ตัวอย่าง
สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์. (2538). การใช้บริการห้องสมุดและการเขียนรายงานการค้นคว้า.
กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ขจร สุขพานิช. (ม.ป.ป.). ฐานันดรไพร่. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินรวิโรฒประสานมิตร.
หลักเกณฑ์การลงรายการเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ยึดตามหลักการเขียนผลงานทาง
วิชาการของสำนักงานมาตรฐานการศึกษา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ กระทรวงศึกษาธิการ 2544ดังนี้
1. ชื่อผู้แต่ง
ลงชื่อผู้แต่งทุกคนโดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนผู้แต่ง ถ้าผู้แต่งเป็นคนไทยให้ลงรายการ
ด้วย ชื่อตัวและตามด้วยนามสกุล ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ ให้ใช้นามสกุลขึ้นก่อนคั่นด้วยเครื่องหมาย
จุลภาค ( , ) แล้วตามด้วยอักษรย่อของชื่อต้นและชื่อกลาง
ตัวอย่าง ดวงใจ กวียะธาริณี เปรมศรีรัตน์Robert Brown ลงว่า Brown, R.
2 ผู้แต่งที่เป็นสมณศักดิ สมเด็จพระสังฆราชที่เป็นเชื้อพระวงศ์และได้ทรง ให้ลงพระนามคั่นด้วย
จุลภาค ตามด้วยคำว่าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า หรือพระมหาสมณเจ้า และลงด้วยอิสริยยศที่ทรงได้รับ
การสถาปนาให้ทรงกรม เช่น1.2 ผู้แต่งที่มีราชทินนามหรือบรรดาศักดิ์ เช่น นาย ขุน หลวง พระ พระยา เจ้าพระยา
คุณหญิง คุณ (คุณหญิงที่ไม่ได้สมรส) หรือ Sir ในภาษาอังกฤษ ให้ลงชื่อราชทินนาม คั่นด้วยเครื่อง
หมายจุลภาค ( , ) แล้วจึงลงบรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานครั้งหลังสุด
3. ชื่อเรื่อง
3.1 การลงรายการชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ ให้ลงชื่อเรื่องตามที่ปรากฏในหน้าปก
ใน ชื่อเรื่องภาษาไทยที่มีภาษาต่างประเทศกำกับให้ลงรายการเฉพาะชื่อเรื่องภาษาไทย ถ้าเป็นหนังสือ
ภาษาอังกฤษ การเขียนชื่อเรื่องให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่เฉพาะคำแรก อักษรแรกของชื่อเรื่องย่อย
(ถ้ามี) และชื่อเฉพาะ หรือ วิสามานยนาม ใส่เครื่องหมายมหัพภาคหลังชื่อเรื่องแล้วขีดเส้นใต้ชื่อเรื่อง
(ในการเรียงพิมพ์อาจจะใช้อักษรตัวเอนหรือตัวดำเข้มแทนการขีดเส้นใต้ก็ได้)
ตัวอย่าง
คู่มือการเขียนรายงานทางวิชาการ
Handbook in writing a research paper.
ตัวอย่าง ชื่อเรื่องที่มีภาษาต่างประเทศกำกับ
จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental psychology)
ลงรายการชื่อเรื่องว่า
จิตวิทยาการพัฒนาการ.
ตัวอย่าง ชื่อเรื่องที่มีชื่อเรื่องย่อย
บรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น: กล่าวถึงวิธีใช้หนังสือและห้องสมุด.
Writing English : A composition for foreign students.
หมายเหตุ : การลงรายการชื่อเรื่องของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร และเอกสารอื่นๆ ใช้
ตัวอักษรธรรมดาแล้วขีดเส้นใต้ หรือตัวหนา หรือตัวเอนก็ได้
3.2 ลงรายการเพิ่มเติมสำหรับหนังสือเล่มนั้น(เช่น พิมพ์ครั้งที่ หรือ เล่มที่)ในเครื่อง
หมายวงเล็บหลังชื่อเรื่อง อย่าใช้มหัพภาคคั่นระหว่างชื่อเรื่องและข้อมูลที่มีอยู่ในวงเล็บ ให้ใช้มหัพภาค
หลังเครื่องหมายวงเล็บปิด
ห้องสมุดและการศึกษาสี่แผ่นดิน (2 เล่ม).
ค้นคว้า (พิมพ์ครั้งที่ 2).
หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขเพิ่มเติม).
The Messenger.s Motives (2nd ed.).
Government and Mass Communications (Vol. 2 ).
The Road to Serfdom (pp. 105-166).
3.3 ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษที่มี 2 ตอน ให้ใช้ตัวเลขอารบิก อย่าใช้ตัวเลขโรมัน ยก
เว้นแต่เพียงตัวเลขโรมันเป็นส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง ตัวอย่าง
Brown, P ., Brill, B., & Faimon, M.E.1.Art in Thailand 2. Ban Chiang Collection.
Art Education 39 (4). 425-500.
4. ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์
ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ สถานที่พิมพ์ และสำนักงานพิมพ์
4.1 สถานที่พิมพ์ ให้ลงชื่อเมืองที่สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์นั้นตั้งอยูหลังชื่อเมืองใส่เครื่อง
4.2 สำนักพิมพ์และโรงพิมพ์
4.2.1 ลงชื่อสำนักพิมพ์ตามที่ปรากฏในหน้าปกใน ถ้ามีทั้งสำนักพิมพ์
และโรงพิมพ์ให้ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ถ้าไม่มีสำนักพิมพ์ให้ลงรายการด้วยโรงพิมพ์แทน
4.2.2 ลงรายการชื่อสำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์สั้นๆ ในรูปแบบที่ทุก
คนเข้าใจตัดคำที่เป็นหนึ่งของสำนักพิมพ์ออก เช่น สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วน....จำกัด
บริษัท......จำกัด ในภาษาอังกฤษให้ตัดคำเหล่านี้ออก เช่น Publishers, Printing House,
Printing office, Press, company หรือ Co., Incorporated, หรือ Inc. , Corporation,
Corporated หรือ Corp., Limited หรือ Ltd. และคำว่า The
ตัวอย่าง
ห้างหุ้นส่วน รวมสาส์น จำกัด ลงว่า รวมสาส์น
สำนักพิมพ์แพร่พิทยา ลงว่า แพร่พิทยา
บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช จำกัด ลงว่า ไทยวัฒนาพานิช
The Scarecrow Press, Inc. ลงว่า Scarecrow
The H. W. Wilson Co. ลงว่า H. W. Wils
การอ้างอิงจากบทความและหนังสือ
การอ้างอิงเป็นเรื่องที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ในงานการเขียนผลงานทางวิชาการ เพราะ
ผู้เขียนต้องมีการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้อ่านว่าเป็น
ผลงานที่ได้ผ่านการค้าคว้าอย่างมีหลักฐาน เมื่อนำข้อความของผู้อื่นมาไว้ในเนื้อหา ไม่ว่าจะคัดลอก
ข้อความหรือสรุปความคิดเห็น ต้องให้เกียรติเจ้าของผลงาน ด้วยการระบุว่าเป็นงานของใครแทรกไว้
ในเนื้อหาหรือเชิงอรรถไว้ และต้องลงไว้เป็นหลักฐานในบรรณานุกรมให้ถูกต้องตามหลักการอ้างอิง
และการลงรายการในบรรณานุกรมตามลักษณะผลงานทางวิชาการนั้นๆ
ข้อควรรู้
1. การพิมพ์บรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิง
1.1 เริ่มพิมพ์บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิงในหน้าใหม่ พิมพ์คำว่า .บรรณานุกรม.
หรือ .เอกสารอ้างอิง. กลางหน้ากระดาษ ถ้าพิมพ์รายงานเป็นภาษาให้ใช้อักษรตัวใหญ่ขึ้นต้นแล้ว
ตามด้วยอักษรตัวเล็ก เช่น .Bibliography. หรือ .References. โดยพิมพ์ให้ห่างจากขอบบนประมาณ
2 นิ้ว และไม่ต้องขีดเส้นใต้
1.2 เรียงรายชื่อหนังสือหรือวัสดุที่จะพิมพ์ในรายชื่อเอกสารอ้างอิง ตามลำดับอักษรชื่อ
ผู้แต่ง ตั้งแต่ ก . ฮ หรือ A . Z ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่งให้เรียงตามชื่อเรื่อง
1.3 ถ้าเอกสารประกอบการเขียนนั้น มีทั้งหนังสือหรือเอกสารต่างประเทศ ให้เรียง
บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทยไว้ก่อน แล้วตามด้วยหนังสือภาษาต่างประเทศ
1.4 การพิมพ์รายชื่อเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม แต่ละรายการให้ขึ้นบรรทัดใหม่ทุก
ครั้ง
1.5 พิมพ์บรรณานุกรม ติดกับขอบกระดาษที่เว้นไว้ด้านซ้ายมือ ถ้ารายการเดียวไม่พอใน
หนึ่งบรรทัด ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ย่อหน้าเข้าไป 4 . 7 ช่วงอักษรให้พิมพ์ตัวที่ 5 . 8 ถ้าไม่จบใน 2
บรรทัดให้ต่อในบรรทัดที่ 3 และ 4 ตามลำดับโดยพิมพ์ให้ตรงกับบรรทัดที่ 2 จนจบรายการ
1.6 การเว้นระยะการพิมพ์หลังเครื่องหมายวรรคตอนทุกอันเว้น 1 ระยะเสมอ
2. คำย่อ
คำย่อ คำเต็ม ความหมาย หมายเหตุ
ch. chapter มาตรา ใช้กับพระราชบัญญัติ
กฎหมาย , ฯลฯ
chap. Chapter บทที่ พหูพจน์ใช้ chaps
col. color สี ใช้กับทัศนวัสดุที่ถ่ายทำเป็นภาพสีพหูพจน์ ใช้ cols.
col. column คอลัมน์ พหูพจน์ ใช้ cols.
comp. compiler ผู้รวบรวม พหูพจน์ ใช้ comps.
Ed. editor บรรณาธิการ พหูพจน์ ใช้ eds.
edited by บรรณาธิการโดย
ed. edition ครั้งที่พิมพ์
enl. ed. enlarged edition ฉบับพิมพ์ใหม่ มีการแก้ไขเพิ่มเติม
rev. ed. revised edition ฉบับพิมพ์ใหม่ มีการปรับปรุงแก้ไข
2nd ed. second edition พิมพ์ครั้งที่ 2
3rd ed. third edition พิมพ์ครั้งที่ 3
5th ed. fifth edition พิมพ์ครั้งที่ 5
et al. et alii และคนอื่นๆ (and others)
illus illustrator ผู้วาดภาพประกอบ
illustrated by วาดภาพประกอบโดย
n.p. no place of publication ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ ภาษาไทยใช้ ม.ป.ท.
no place of publisher ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ ภาษาไทยใช้ ม.ป.ท.
n.d. no date of publication ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ภาษาไทยใช้ ม.ป.ป.
no. number ฉบับที่
p. page หน้า พหูพจน์ ใช้ pp.
sec. Section ตอนที่ พหูพจน์ ใช้ secs.
tr. translator ผู้แปล พหูพจน์ ใช้ trs.
Translated by แปลโดย
Vol. Volume เล่มที่ พหูพจน์ ใช้ vols.
3. เครื่องหมายวรรคตอน
. period (มหัพภาค)
, comma (จุลภาค)
: colon (ทวิภาค)
; semi-colon (อัฒภาค)
หลังเครื่องหมายทุกชนิด เว้น 1 ระยะ
รูปแบบการลงรายการจากบทความและหนังสือ

การอ้างอิง (Deci & Ryan, 1991, pp. 237-288)
บรรณานุกรม Deci, E. L. , & Ryan, R. M. , (1991). A motivational approach to self : Integration
in personality. In R. Dienstbier (Ed.). Nebraska Symposium on
Motivation: Vol. 38. Perspectives on motivation (pp . 237-288). Lincoin:
University of Nebraska.
2.2 รายงานการประชุมที่มีการตีพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ
การอ้างอิง (Cynx & Nottebohm, 1992)
บรรณานุกรม Cynx, J. , Williams, H. , R. M. (1992). Hemispheric differences in avian soung
discrimination. Proceedings of the National Academy of Sciences, USA,
89, 1372-1375.
2.3 รายงานการประชุมที่ไม่ได้ตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม
การอ้างอิง (Lanktree & Briere, 1991)
บรรณานุกรม Lanktree, C. , & Briere, J. (1991, January). Early data on the Trauma Symptom
Checklist for Children (TSC-C). Paper presented at the Meeting of the
American Professional Society on the Abuse of Children, San Diego, CA.
2.4 เอกสารนำเสนอผลงานในที่ประชุม (Poster session)
การอ้างอิง (ลมุล รัตตากร, 2529, ธันวาคม)
บรรณานุกรม ลมุล รัตตากร. (2529, ธันวาคม). ระบบห้องสมุด. เอกสารเสนอต่อที่ประชุม
ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
การอ้างอิง (Lee, 1982, June)
บรรณานุกรม Lee, Hwa-Wei. (1982, June). Exchange librarians. Paper Presented at the Annual
Conference of the American Library Association, Philadelphia.
หมายเหตุ
ให้ใส่เดือนที่ประชุม ใส่อักษรย่อชื่อรัฐหรือประเทศ ถ้าชื่อเมืองที่จัดประชุมนั้นไม่
เป็นที่รู้จักกันดี
3. วิทยานิพนธ์
3.1 บทคัดย่อวิทยานิพนธ์จาก Dissertation Abstracts International (DAI) และ
จัดทำโดย University Microfilm
การอ้างอิง (Bower, 1993)
บรรณานุกรม Bower, D. L. (1993). Employee assistant programs supervisory referrals:
Characteristics of referring and no referring supervisors. Dissertation
Abstracts International, 54(01), 534B. (University Microfilms No.
AAD93-15947)
3.2 บทคัดย่อวิทยานิพนธ์จาก Dissertation Abstracts International (DAI) และ
จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัย
การอ้างอิง (Ross, 1990)
บรรณานุกรม Ross, D. F. (1990). Unconscious transference and mistaken identity: When a
witness misidentifies a familiar but innocent person from a lineup
(Doctoral dissertation, Cornell University, 1990). Dissertation
Abstract International, 49 , Z5055.
3.3 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกที่ไม่ได้จัดพิมพ์จำหน่าย
การอ้างอิง (Wilfley, 1989)
บรรณานุกรม Wilfley, D.E. (1989). Interpersonal analysis of bulimia: Normal-
Weight and obese. Unpublished doctoral dissertation. University
Of Missouri, Columbia.
3.4 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทที่ไม่ได้จัดพิมพ์จำหน่าย
การอ้างอิง (Almeida, 1990)
บรรณานุกรม Almeida, D.M. (1990). Fathers. participation in family work:
Consequences for fathers. stress and father-child relations.
Unpublished master.s thesis. University of Victoria, Victoria,
British Columbia, Canada.
การอ้างอิง (พรพิมล เฉลิมพลานุภาพ, 2535)
บรรณานุกรม พรพิมล เฉลิมพลานุภาพ. (2535). พฤติกรรมการแวงหาข่าวสารและ
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของบริษัทธุรกิจเอกชนที่ยอดขาย
สูงสุดของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วารศาสตร์มหาบัณฑิต คณะ
วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
4. การลงรายการบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ หรือจัดพิมพ์ใน
จำนวนจำกัด
4.1 ต้นฉบับสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้จัดพิมพ์เผยแพร่ทั่ว ๆ ไป
การอ้างอิง (Stinson, Milbrath, Reidbord & Bucci, 1992)
บรรณานุกรม Stinson, C., Milbrath, C., Reidbord, S., & Bucci, W. (1992). Thematic
Segmentation of psychotherapy transcripts for convergent
Analysis. Unpublished manuscript.
4.2 ต้นฉบับสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัย
วิธีการเขียนอ้างอิงบรรณานุกรมจากสารนิเทศประเภทต่างๆ มีดังนี้
1. หนังสือ
1.1 ผู้แต่งคนเดียว
ตัวอย่าง
เริงชัย หมื่นชนะ. (2538). จิตวิทยาธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
O’Brien, J. A. (1999). Management information : Managing Information technology in the
internet worked enterprise. 4 th ed. Boston : McGraw-Hill.
1.1.1 ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศให้ใส่ชื่อสกุลตามด้วยอักษรย่อทั้งชื่อต้น และชื่อกลาง(ถ้ามี) โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (comma) (,) แบ่งชื่อสกุล และชื่อต้น
ตัวอย่าง O’Brien, J. A.
Mullen, N. D.
1.1.2 ผู้แต่งชาวไทยให้ใส่ชื่อตามด้วยนามสกุลในกรณีที่มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ หรือยศ เครื่องหมายจุลภาค (,) หลังนามสกุลและตามด้วยฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ หรือยศ เช่น
คึกฤทธิ์ ปราโมช, พลตรี ม.ร.ว.
อนุมานราชธน, พระยา
สุภัทรดิส ดิสกุล, ม.จ.
หมายเหตุ ไม่ต้องใส่คำต่อไปนี้
1. คำนำหน้าชื่อ เช่น นาย นาง นางสาว Mr. Mrs.
2. ตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ดร. ศ. รศ. Dr. Prof.
3. คำระบุอาชีพ เช่น นายแพทย์ แพทย์หญิง ทันตแพทย์
1.1.3 สมณศักดิ์ ให้คงไว้ปกติไม่ต้องย้ายไว้ด้านหลัง เช่น พระเทพคุณาธาร พระเทพวาที พระพิศาลธรรมเวที
ยกเว้น ผู้แต่งที่เป็นพระสังฆราชและเชื้อพระวงศ์ ให้ลงพระนามจริงก่อน แล้วกลับคำนำหน้าที่แสดงลำดับชั้นเชื้อพระวงศ์ไปไว้ข้างหลัง โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,)
ตัวอย่าง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมสมเด็จพระ

1.2 หนังสือที่มีบรรณาธิการ ให้ลงชื่อบรรณาธิการแทนผู้แต่ง และใส่คำ “บรรณาธิการ” หรือ “ผู้รวบรวม” หรือ Ed. หรือ Eds. หรือ Comps. โดยใส่ไว้หลังเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ต่อจากชื่อบรรณาธิการ

ตัวอย่าง

เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท, บรรณาธิการ. (2543). ท้องถิ่น-อินเดีย. ชลบุรี : ภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Diener, H. C., &Wilkinson, M., Eds.. (1988). Drug-induced headache. New York : Springerverlag.
1.3 ผู้แต่ง 2-3 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 คน
ให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคน โดยใช้คำว่า “ , และ” หรือ “, &” เชื่อมดังนี้ ถ้า 2 คนเชื่อมระหว่างชื่อ ผู้แต่งคนที่ 1 และคนที่ 2 ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ ต้องกลับเอาชื่อสกุลขึ้นต้นเหมือนกัน ทั้ง 2 คน กรณี 3 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 คน ให้ระบุ ผู้แต่งให้ครบทุกคน ชื่อแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่อง
หมายจุลภาค “ , ”เช่น คนที่ 1,คนที่ 2 และคนที่ 3

ตัวอย่าง ผู้แต่ง 2 คน

ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ และสุมาลย์ บ้านกล้วย. (2525). ตัวละครในรามเกียรติ์ : ลักษณะความเป็นมา
และพฤติกรรมของตัวละครในรามเกียรติ์เปรียบเทียบกับตัวละครในมหากาพย์รามายณะ.
กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
Galton, M. & Williamson, J. (1992). Group Work in the primary Classroom. London :
Routledge.
ผู้แต่ง 3 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 คน
วัลลภ สวัสดิวัลลภล, สุเวช ณ หนองคาย, เบญจรัตน์ สีทองสุก, นารีรัตน์ เทียมเมือง, และชัยเลิศ
บริสุทธกุล. (2541). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า = Information for study skills and
research. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม.

1.4 ผู้แต่งมากกว่า 6 คน
ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำว่า “และคนอื่นๆ” สำหรับชาวไทย “and others” สำหรับชาวต่างประเทศ
ตัวอย่าง

จรวย บุญยุบล และคนอื่นๆ. (2536). พลังงาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cramer, R.L. and others. (1984). Language : Structure and use. 2 nd ed. Illinois : Scott.

หมายเหตุ
กรณีที่หน้าปกมีชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วย “และคนอื่นๆ”หรือ “และคณะ”ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนแรกตามที่ปรากฏที่หน้าปกของหนังสือได้เลย เช่น
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคนอื่นๆ. (2543). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและกรณีศึกษา =
Management Information Systems (MIS) and cases. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.

1.5 สิ่งพิมพ์ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ลงชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง
ตัวอย่าง
2 วารสาร
(ถ้าไม่มีชื่อผู้เขียนใช้ชื่อบทความลงเป็นรายการแรก)
ตัวอย่าง
เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท. (2542, มิถุนายน – ธันวาคม). แนวคิดสันติวิธีจากกฎหมายตราสามดวง.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(8), หน้า 52-61.คอลัมน์จากวารสาร

ตัวอย่าง
สุนันท์ ศรีจันทรา. (2545, 6-12 พฤษภาคม). เกาะกระแสธุรกิจ : นักลงทุนไทยไปนอก.
เนชั่นสุดสัปดาห์, 10 (518) :หน้า 21.

3. หนังสือพิมพ์
ตัวอย่าง
ขติยา มหาสินธ์. (2545, 19 พฤษภาคม). เปิดศูนย์เทียบประสบการณ์สร้างชีวิตใหม่ให้แรงงานไทย.
มติชน, หน้า 4.
4. จดหมายเหตุ คำสั่ง ประกาศ

ตัวอย่าง
หอสมุดแห่งชาติ. (จ.ศ. 1206). จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3. เลขที่ 12.
มหาวิทยาลัยบูรพา. (2533, 13 กุมภาพันธ์). เรื่อง กำหนดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนประจำปีการ
ศึกษา 2534. ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา.
5. สูจิบัตร แผ่นพับ โฆษณา แผ่นปลิว และเอกสารการสอนที่ไม่เป็นเล่ม
ตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม. (2545). ความรู้เรื่องประเพณีวันสงกรานต์.
(สูจิบัตร). ชลบุรี : สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา.

6. ต้นฉบับเขียน
ตัวอย่าง
หอสมุดแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). บาลีพระขุททกสิกขา. (หนังสือใบลาน).
เลขที่ 3980/ก/1.
กรณีที่ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ภาษาไทยใช้ (ม.ป.ป.) หรือภาษาอังกฤษใช้ (n.d.)
7 ราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พุทธศักราช 2533. (2533, 29 กรกฎาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 107 ตอนที่ 131. หน้า 1-20.
8. การสัมภาษณ์
ตัวอย่าง
ทักษิน ชินวัตร, พ.ต.ท. (2545, 29 พฤษภาคม). นายกรัฐมนตรี. สัมภาษณ์.

9. สื่อโสตทัศนวัสดุ
ตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ผู้ผลิต. (2525). กฎหมายธุรกิจ. [แถบเสียง].
นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

10. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
10.1 ซีดี-รอม
ตัวอย่าง

Youngwood, S. (1992, February). Book publishers proliferate in vermont. Vermont business
magazine. [CD-ROM]. Sec 1, 25 : Available : UMI, File Business Dateline Ondisc, Item : 92-18178.สาระสังเขป
Green, M., &Rogers, P. J. (1995). Impaired cognitive functioning During spontaneous
dieting. Psychological medicine. [CD-ROM]. 25(5), 1003-1010. Abstract
from : Science Citation index with abstract, disc 2 of 2, January 1995-October
1995.
อมรา พงศาพิชญ์. (2540). การมองตนเองและโลกทัศน์ของเด็กพิการตาบอด : ศึกษากรณีเด็กใน
โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพมหานคร. [ซีดี-รอม]. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต,
สาขามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาระสังเขปจาก :
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 1, 2540.

ในการระบุแหล่งที่ใช้ค้นสารนิเทศให้ใช้คำว่า “เข้าถึงได้จาก :” สำหรับวัสดุสารนิเทศภาษาไทย ส่วนวัสดุสารนิเทศภาษาต่างประเทศใช้คำว่า “Available :” ในกรณีที่สารนิเทศที่ค้นได้เป็นเพียงบทคัดย่อหรือสาระสังเขป (Abstract) ไม่ใช่ฉบับเต็มให้ใช้คำว่า “บทคัดย่อจาก :” หรือ “Abstract from :” แทนคำว่า “เข้าถึงได้จาก :” และ “Available :” ตามลำดับ

10.2 ข้อมูลออนไลน์ หรือสารนิเทศบนอินเตอร์เน็ต
ตัวอย่าง
Webb, S.L. (1992, January). Dealing with sexual harassment. Small Business Report. [Online].
17, 11-14. Available : BRS, File : ABI/INFORM, Item : 00591201.
(Access date : March 1, 1992).
Garcia, G.E. (19991). Factors influencing the English reading test Performana of
spanidh-speaking hispanic children. Reading Research quarterly. [Online].
26(4)} 371-92. Abstract from : DIALOG(R), File 1 : ERIC, Item : EJ435542.
(Access date : July 1, 1992).

กระแสการปฏิรูปการศึกษา. (2545). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http:///www.
moe.go.th/main2/article/article-somsak/article-somsak11.htm/.
(วันที่ค้นข้อมูล : 31 พฤษภาคม 2545).
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2544). ความสงสัยในการเดินหน้าปฏิรูปการศึกษา.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.moe.go.th/main2/
article-somsak/article-somsak09.htm/. (วันที่ค้นข้อมูล : 31
พฤษภาคม 2545).
England, G.A. (1999). The outer world. In Robert R(Ed.). Darkness and dawn. [Online].
Available : http://www.litrix.com/darkdawn/ darkdool.htm. (Access date : May 3, 1999).
Projcet Gutenberg. (1999). [Online]. Available : ftp://mrcnext.CSO.uiuc.
edu/etext. (Access date : March 9, 1999).
หมายเหตุ
1. ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และรายละเอียดทางการพิมพ์ให้ใช้หลักเกณฑ์ในการเขียนบรรณานุกรมตามวัสดุสารนิเทศประเภทต่างๆ
2. ประเภทของสื่อให้ระบุว่าเป็น [ออนไลน์] หรือ [ซีดี-รอม] สำหรับวัสดุสารนิเทศภาษาไทย และ [Online] [CD-ROM] สำหรับวัสดุสารนิเทศภาษาต่างประเทศ

การลงรายการเกี่ยวข้องกับการพิมพ์

1. ครั้งที่พิมพ์ ให้ระบุตั้งแต่ครั้งที่สองเป็นต้นไป ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศใช้คำว่า “ed.”
ภาษาไทย ลงว่า พิมพ์ครั้งที่ 2
ภาษาต่างประเทศ ลงว่า 2 nd ed.
2. เมืองที่พิมพ์ให้ระบุชื่อเมืองที่ปรากฏ ถ้าไม่ปรากฏเมืองที่พิมพ์ให้ลงว่า ม.ป.ท. หรือ n.p. (no place of publication)
3. สำนักพิมพ์ ระบุเฉพาะชื่อสำนักพิมพ์ที่ปรากฏในหน้าปกในตัดคำประกอบอื่นที่ไม่จำเป็นออก ยกเว้นสำนักพิมพ์ของสถาบันอุดมศึกษาให้ระบุคำว่าสำนักพิมพ์ด้วย เช่น
McGraw – Hill Company ลงว่า McGraw - Hill
สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ลงว่า ไทยวัฒนาพานิช
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด ลงว่า ซีเอ็ดยูเคชั่น
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงว่า สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บรรณานุกรม
คณะอาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. (2542). เอกสารประกอบการสอนวิชา 202101
สารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า. ชลบุรี : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. (2543). สารสนเทศและการศึกษา
ค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยบูรพา. (2541). คู่มือการทำวิทยานิพนธ์. ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2541). คู่มือวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. (2538). เอกสารประกอบการเรียนวิชา สารนิเทศกับการ
ศึกษาค้นคว้า.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริน-
ทรวิโรฒประสานมิตร.
วัลลภ สวัสดิวัลลภล , สุเวช ณ หนองคาย, เบญจรัตน์ สีทองสุก, นารีรัตน์ เทียมเมือง
และชัยเลิศ บริสุทธกุล. (2541). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า= Information for study skills
and research. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ สถาบันราชภัฏ
นครปฐม.
สถาบันราชนครินทร์. สำนักงานประสานงานบัณฑิตศึกษา. (2544). คู่มือการทำวิทยานิพนธ์
ภาคนิพนธ์. ฉะเชิงเทรา : สำนักงานประสานงานบัณฑิตศึกษา สถาบันราชนครินทร์.

หมายเหตุ
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนบรรณานุกรมบอกแหล่งที่มาของข้อมูลในการเขียนบรรณานุกรมท้ายเล่มหรือท้ายบทของเอกสารประกอบการสอน หรือรายงานการวิจัย ผู้จัดทำได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากคู่มือต่างๆ ที่ใช้หลักการเขียนแบบ APA และประยุกต์รูปแบบบางส่วนของข้อมูล บางรูปแบบจึงไม่เป็นไปตามรูปแบบของ APA



ที่มา จัดทำโดย ศูนย์ปฏิบัติการศึกษาค้นคว้าและวิจัย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ที่ระลึกเดือนส่งเสริมการอ่าน



สงงาน
สิบเอกภูมิสักดิ์ บัวเหมือน
หมายเลขประจำตัว 52423437248

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น